วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาคอีสาน



ประเพณีผีตาโขน





จังหวัด เลย
  
ช่วงเวลา ่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ
   การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด        แต่ชาวบ้านได้
ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน              "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง
 และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต

พิธีกรรม 

  มีการจัดทำพิธี ๒ วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำ
พิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง 
โดยสมมุติให้วัดเป็นเมืองสำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็น
พิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด      ๓ รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คน
ไปเรื่อย  ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำ
เครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน 
จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ 

สาระ 
  ารละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง     นำมา
ตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็น
รอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้นเพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสี
มาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ ใน   การละเล่นมี ๒ ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังใน
เวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อยๆ
 จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวัน
เปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย     โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้
แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น 
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page10.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น