วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาคเหนือ



ประเพณีสงกรานต์





จังหวัด เชียงใหม่
ช่วงเวลา วันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี
ความสำคัญ
าวล้านนาให้ความสำคัญวันปีใหม่เมืองมากเพราะถือว่าเป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อ
พุทธศาสนา แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีและสนุกสนานในหมู่คณะ และยัง
เป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งแยกย้ายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ     ได้มีโอกาสกลับมาพบปะสังสรรค์กัน 
จึงนับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี

พิธีกรรม 

วันแรกของงาน คือ วันที่ ๑๓ เมษายน ตามประเพณีพื้นเมืองเรียกว่า      วันสังขานต์ล่อง คือ 
หมายความว่าวันนี้สิ้นสุดศักราชเก่า         ในวันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนจุดประทัดกันแต่เช้าตรู่
 การยิงปืนและการจุดประทัดนี้ มีความเชื่อถือกันแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่างๆ 
ให้ล่องไปพร้อมกับสังขาร นอกจากนั้นชาวบ้านก็จะกวาดขยะมูลฝอยตามลานบ้านไปกองไว้แล้ว
จุดไฟเผาเสียและทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อย         เก็บเสื้อผ้ามุ้งหมอนผ้าปู 
ที่นอนไปซัก อุปกรณ์ที่ซักไม่ได้ก็นำออกไปผึ่งแดดเสร็จแล้วก็ชำระร่างกายสระผม (ดำหัว) 
ให้สะอาด และมีการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วยถัดจากวันสังขารล่อง คือ วันที่ ๑๔ 
 เมษายน เรียกว่า  วันเนา หรือ วันเน่า     ในวันนี้ตามประเพณีถือว่าเป็นวันสำคัญและเป็นมงคล
แก่ชีวิต จะได้ประสบแต่ความดีงามตลอดปี จะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล เช่นด่าทอ         หรือ
ทะเลาะวิวาทกัน ตอนเช้าต่างก็จะไปตลาดเพื่อจะจัดซื้ออาหารและข้าวของมาทำบุญเรียก 
อีกอย่างหนึ่งว่า วันดา   (คือวันสุขดิบทางใต้)       ตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัดโดยขนจาก
แม่น้ำปิงแล้วนำไปยังวัดที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ที่ก่อขึ้นจะตบแต่งด้วย
ธงทิวสีต่าง ๆ ธงสีนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ตุง ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและ
รูปร่างต่าง ๆ ติดปลายไม้ อีกชนิดหนึ่งตัดเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ติดปลายไม้เรียกว่า
ช่อ การทานหรือถวายตุงหรือช่อนี้ถือกันว่าเมื่อตาย               (สำหรับผู้ที่มีบาปหนักถึงตกนรก) 
จะสามารถพ้นจากขุมนรกได้ด้วยช่อและตุงนี้ ส่วนการขนทรายเข้าวัดนั้นถือว่าเป็นการทดแทนที่
เมื่อตนเดินผ่านหรือเข้าออกวัด                 ทรายในวัดย่อมจะติดเท้าออกไปนอกวัดเป็นบาปกรรม 
ทางวัดจะได้ใช้ทรายเพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือถมลานวัด   เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทาน
ในวันรุ่งขึ้น และจะมีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย


        ในวันขนทรายนี้ จะมีการเล่นรดน้ำกันและ
เป็นการเล่นอย่าง         สนุกสนานที่สุดวันหนึ่ง
ผู้หญิงจะแต่งกายพื้นเมืองจะนุ่งผ้าซิ่นสวมเสื้อ
แขนยาวทัดดอกเอื้องที่มวยผม    ส่วนผู้ชายจะ
แต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุด    พื้นเมืองคล้องคอด้วย
ดอกมะลิ ถือขันหรือโอคนละใบใส่น้ำเพื่อรดกัน
อย่างสนุกสนานและขนทรายเข้าวัดด้วยใบหน้า
ยิ้มแย้มแจ่มใสทุก ๆ คนวันที่สามตรงกับวันที่
๑๕ เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน จะมีการดำหัว
ซึ่งเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวเมืองเหนือคือ
การนำลูกหลาน ญาติพี่น้อง   ไปขอขมาลาโทษ
(สูมาคาระวะ) ต่อผู้ใหญ่ในตอนเย็น

   วันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่ชาวบ้านจะจัดอาหารหวานคาวใส่สำรับไปถวายพระที่วัด เป็นการถวายภัตตาหาร

หรือที่เรียกกันว่า ทานขันข้าว เป็นการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลถึงญาติพี่น้องบิดามารดาที่ล่วงลับ
ไปแล้วอีกด้วย รวมทั้งถวายเจดีย์ทราย ถวายจ่อตุง ถือว่าเป็นอานิสงส์

สาระ 
   ระเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวที มีความเอื้ออาทรต่อกัน     เป็นการ
สร้างความสามัคคีในหมู่พี่น้องและชุมชน ด้วยการร่วมกันทำอาหารคาว - หวาน สำหรับไปทำบุญอุทิศ
ส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับการขนทรายเข้าวัดเพื่อถวายทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุง     รดน้ำดำหัวผู้อาวุโส
ที่เคารพนับถือ ด้วยการร่วมตกแต่งเครื่องสักการะดำหัว            ตลอดจนการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญ
ประจำเมือง ประจำวัดและประจำบ้าน
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page8.htm

ภาดใต้



ประเพณีการแข่งโพน





จังหวัด พัทลุง
ช่วงเวลา   ลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ
ความสำคัญ
  วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่าทางวัดจะจัด
ให้มีการชักพระ ต่อมามีการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น มีการท้าพนันกันบ้างว่า 
ผู้ตีโพนคนใดเรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพน
กันขึ้น ในระยะ แรก ๆ เข้าใจว่าคงตีแข่งขันภาย
ในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น        จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ทำให้มีการแข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง และกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นที่
สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็น กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง

พิธีกรรม 

  ารแข่งโพนแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ
   ๑. แข่งมือ ตัดสินให้ผู้ตีที่มีกำลังมือดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยให้ตีจนผู้ใดอ่อนล้าก่อนเป็นฝ่ายแพ้ ปัจจุบัน

ไม่นิยมเพราะทำให้เสียเวลามาก
   ๒. แข่งเสียง ตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันจะเป็นแบบพบกันหมดหรือแพ้คัด
ออกก็ได้ จับสลากแข่งขันเป็นคู่ ๆ ใช้ผู้ตีฝ่ายละ ๑ คน กรรมการ ๓ - ๕ คน ตัดสินให้คะแนน โดยอยู่ห่าง
จากสถานที่ตีไม่น้อยกว่า       ๑๕๐ เมตร ณ สถานที่ตี กรรมการควบคุมการตีและคุมเวลาเรียกคู่โพนเข้า
ประจำที่ ลองตีก่อนฝ่ายละประมา  ๓๐ วินาทีเพื่อดูว่าโพนฝ่ายใดมีเสียงทุ้ม และโพนฝ่ายใดมีเสียงแหลม 
จากนั้นเริ่มให้ทั้งคู่ตีพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากจะใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ นาที ขณะที่โพน
กำลังตีแข่งขันอยู่นั้น    กรรมการฟังเสียงทั้งหมดจะตั้งใจฟังเสียงโพนแล้วตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็น
ฝ่ายชนะ โดยถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน

สาระ 
     ารแข่งขันโพน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับพิธีการทางศาสนาบางประการแล้ว
กิจกรรมการละเล่นชนิดนี้ยังช่วยให้มองเห็นการแสวงหาความสุข    ความบันเทิงใจ อีกทั้งยังเป็นสื่อใน
การประสานความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสพบปะสัมพันธ์กัน เป็นกิจกรรมการละเล่นที่
สำคัญนำมาสู่การสร้างสรรค์ ความสามัคคีในชุมชน จึงควรอนุรักษ์ให้ การละเล่นชนิดนี้คงอยู่ตลอดไป
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page21.htm

ภาคใต้



ประเพณีลากพระ





จังหวัด นครศรีธรรมราช
ช่วงเวลา
         วัันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไป

ยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ
        ป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา   
  ณ   สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชน
ไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน

พิธีกรรม 

  ๑. การแต่งนมพระ
  นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก         

เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง 
ทำเป็นรูปพญานาค   มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบาย
สีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี    ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย 
ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจก
แวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง  ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของ
พระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ   เพราะความสง่าได้
สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม 
  ๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น   ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ 

พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนา
เรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตร
หน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้
บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย 
  ๓. การลากพระ
  ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้

จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อ
ผ่อนแรง
  ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
 อี้สาระพา เฮโล เฮโล
 ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
 ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ



สาระ 
   ระเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง   สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน     
จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
   ๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า  
"เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ 
การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
   ๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จ
ในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้าน
อื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
   ๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอน
สั้น ๆ ตลก ขบขัน 
และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ 
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page19.htm

ภาคกลาง



ประเพณีวิ่งควาย




จังหวัด ชลบุรี
ช่วงเวลา   นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี 


ความสำคัญ
  ระเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน
 จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่าง
ชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควาย
เป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ 
พิธีกรรม 
  ระเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับ
ตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุก
สนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย 
สาระ 
  สดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ   คือควายเพื่อ
ให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว  ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็น
วันพระ  ชาวไร่ชาวนาเอา
ควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว    ใบตอง  ยอดมะพร้าว  มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อ
ข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ    วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยง
พระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาล
เมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ    เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน 
ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ  เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี 
จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page2.htm

ภาคอีสาน



ประเพณีผีตาโขน





จังหวัด เลย
  
ช่วงเวลา ่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ
   การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด        แต่ชาวบ้านได้
ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน              "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง
 และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต

พิธีกรรม 

  มีการจัดทำพิธี ๒ วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำ
พิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง 
โดยสมมุติให้วัดเป็นเมืองสำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็น
พิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด      ๓ รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คน
ไปเรื่อย  ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำ
เครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน 
จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ 

สาระ 
  ารละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง     นำมา
ตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็น
รอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้นเพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสี
มาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ ใน   การละเล่นมี ๒ ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังใน
เวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อยๆ
 จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวัน
เปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย     โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้
แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น 
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page10.htm

ภาดอีสาน



ประเพณีไหลเรือไฟ





จังหวัด นครพนม
ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม)
ความสำคัญ
พื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย
เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม
เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก
เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ


พิธีกรรม 

นําเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน 

ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอย
พระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ 
ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ 
เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ 

สาระ 
ปรียบเทียบให้เห็นชีวิตมนุษย์ มีเกิด มีเจริญก้าวหน้า และดับไปในที่สุดหรือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง" 
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page9.htm

ภาคกลาง



ประเพณีกวนข้าวทิพย์





จังหวัด ชัยนาท
ช่วงเวลา   วันที่ ๔ ธันวาคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านหนองพังนาค ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
 ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธจนเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน


ความสำคัญ
  ตามประวัติสมัยพุทธกาล เชื่อว่านางสุชาดา ได้นำข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธถวายพระพุทธเจ้า 
ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ดังนั้นชาวพุทธจึงถือว่าข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธเป็น
อาหารทิพย์และได้ทำถวายแด่พระสงฆ์ในฤดูก่อนเดือนสิบสอง

พิธีกรรม

  นื่องจากวัสดุที่สำคัญในการทำข้าวทิพย์ คือน้ำข้าวจาก
ต้นข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม   ใน  ประเทศไทยเชื่อกันว่ามีหลาย
จังหวัดที่ทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานถึงปัจจุบัน แต่สำหรับ
จังหวัดชัยนาทมีทำกันตลอดที่ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง 
จังหวัดชัยนาท ทำกันแทบทุกหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันทำกัน
ตลอดมาทุกปีจนถือเป็นประเพณีที่หมู่บ้านหนองพังนาค


สาระ 
  ระเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในกลุ่มชนในอันที่จะร่วมกันนำเอาวัสดุข้าวของ
ต่าง ๆ มาร่วม
ทำบุญ เมื่อเสร็จและถวายเป็นพุทธบูชาก็แบ่งปันกันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล 
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page15.htm

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาคเหนือ



ประเพณีปอยส่างลอง





จังหวัด แม่ฮ่องสอน
ช่วงเวลา
ะหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา ๓-๗ วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน ๓ วัน

ความสำคัญ
ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระ
พุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า         
ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์  
๘กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ 
จะได้อานิสงฆ์ 
๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม 


พิธีกรรม 
มี๒ วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบที่เรียกว่า ส่างลอง
๑. แบบข่ามดิบเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว

 เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
๒. แบบส่างลอง เป็นวิธีที่จัดงานกันใหญ่โตนิยมกันมากแบ่งวันจัดงานเป็น ๓ วัน คือ
วันแรก เรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้านำเด็กที่โกนหัวแล้วไปแต่งชุดส่างลอง คล้ายเจ้าชายไทยใหญ่รับศีล 

นำส่างลองแห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ 
ตลอดทั้งวันและนำส่างลองกลับไปรับประทานอาหารพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ
วันที่สอง เป็นวันแห่เครื่องไทยทานทำในตอบเช้ามีขบวนแห่เครื่องไทยทานและส่างลองไปที่วั เลี้ยงอาหารผู้
มาร่วมขบวนแห่ และมีการทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมีอาหาร ๑๒ อย่าง แก่ส่างลองด้วย
วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ตอนบ่ายแก่แห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา     และอาจมีจุดบั้งไฟ
เป็นการเฉลิมฉลองด้วย 


สาระ 
๑. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป๒. ผู้ที่ผ่านการ
อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป๓. บิดาที่จัดบรรพชาให้
ลูกเป็นสามเณจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง   นำหน้าชื่อตลอดไป๔. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็น
สามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป๕. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้
รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป๖. 
มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป. การจัดงาน
ปอยส่างลอง 
เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 
อ้างอิง : http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/page1.htm